วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

Flash Slideshow Maker
โปรแกรม Flash Slideshow Maker ถ้าคุณมีรูปสวย ๆ ที่ต้องการจะโชว์ให้คนอื่นเห็นใน Blog หรือในเว็บไซต์ของคุณ แต่อยากให้มีลูกเล่นสวย ๆ เป็นภาพเคลื่อนไหว ขอแนะนำโปรแกรม Flash Slideshow Maker เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างอัลบัมรูป ที่เป็นไฟล์ flash สามารถทำภาพสไลด์โชว์ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว ใส่เพลง ใส่ effect ตามต้องการ ผลจากการสร้าง เป็นได้ทั้งไฟล์ในรูปแบบ SWF ไฟล์ HTM สามารถนำ upload ขึ้นหน้าเว็บได้เลย และสามารถสร้างเป็นแผ่น CD ได้ด้วย

วิธีการใช้งานโปรแกรมก็ไม่อยากมากนักเพียงสามขั้นตอนหลัก ๆ เท่านั้น

1. หลังติดตั้งโปรแกรมเสร็จ เปิดโปรแกรมขึ้นมา คลิกที่ Next>

2. คลิก Add เพื่อเลือกรูปที่ต้องการให้แสดง จากนั้นคลิกที่ Next>

หากต้องการใส่ ลูกเล่นต่างให้กับการเคลื่อนไหวของภาพก็ ไปที่ Transition Effect

เลือก Effect ต่าง ๆตามความชอบว่าให้รูปนั้นแสดงไปในทิศทางใด โดยลากมาใส่ข้างหน้าภาพที่มีรูปสี่เหลี่ยม

3. เลือกรูปแบที่ต้องการให้แสดงที่ Decorate the phpto with และเลือกกรอบของรูปตามความต้องการ จากนั้นคลิกที่ Next>

4. คลิกที่ Publish now! โปรแกรมจะทำการแปลงรูปของคุณให้เป็น Flash

5. คลิกที่ Open output Folder เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ ไฟล์รูปที่เป็น Flash แล้วครับ

ส่วนนี้คือ ส่วนที่เป็นหน้าตางของไฟล์รูปภาพของโปรแกรมนี้

ก่อนอื่นจะต้องเลือกภาพตามที่เราต้องการก่อน

- โดยการนำเมาส์ไปคลิกที่รูปภาพ

- คลิกที่ add เพื่อเลือกรูปภาพตามต้องการ

- คลิก Transition Effect เป็นการเลือกรูปแบบ slide ให้กับภาพ

- คลิก them เป็นการเลือดเพลงและ optios ต่างๆ

- คลิก Advanced เป็นการดูตัวอย่างการ slide และ เลือก category

Category

หัวข้อ Category เป็นการเลือกรูปแบบการแสดง และมีหัวข้อให้เลือกมากมายมีหลายรูปแบบ


เลือกหัวข้อ thumbnail list

หน้าตาจะมีลักษณะดังนี้

1.ภาพย่อยหรือภาพที่จะทำการแสกงถัดไปหรือที่ได้ทำการเลือกไว้นั้นจะแสดงอยู่ทางด้านซ้ายของภาพที่กำลังแสดงอยู่

2.จะมีปุ่มเครื่องมืออยู่ทางด้านล้างเช่น

- ปุ่มplay

- ปุ่มnext

- ปุ่ม spot

เลือกหัวข้อ mirror

หน้าตาจะมีลักษณะดังนี้

1.ภาพย่อยหรือภาพถัดไปที่ได้ทำการเลือกไว้นั้นจะแสดงอยู่ทางด้านล้างของภาพที่กำลังแสดงอยู่

2.ภาพเล็กๆ ปรากฏอยู่ด้านล้างนั้นสามารถทำการเลือก ที่จะทำการให้ภาพนั้นแสกงได้ตามต้องการ


เลือกoverlop

หน้าตาจะมีลักษณะดังนี้

1.ภาพย่อยหรือภาพถัดไปที่ได้ทำการเลือกไว้นั้นจะแสดงอยู่ทางด้านหน้าของภาพที่กำลังแสดงอยู่

2.ภาพเล็กๆ ปรากฏอยู่ด้านหน้านั้นสามารถทำการเลือก ที่จะทำการให้ภาพนั้นแสดงได้ตามต้องการ



เลือก list on right

หน้าตาจะมีลักษณะดังนี้

1.ภาพย่อยหรือภาพถัดไปที่ได้ทำการเลือกไว้นั้นจะแสดงอยู่ทางด้านขวาของภาพที่กำลังแสดงอยู่

2.ภาพเล็กๆ ปรากฏอยู่ด้านขวานั้นสามารถทำการเลือก ที่จะทำการให้ภาพนั้นแสดงได้ตามต้องการ

เลือก web album[drag]

หน้าตาจะมีลักษณะดังนี้

1.ภาพย่อยหรือภาพถัดไปที่ได้ทำการเลือกไว้นั้นจะแสดงอยู่ทางด้านหน้าทั้งหมด

2.ภาพทุกๆ ภาพสามารถใช้เมาส์ลากไปวางไว้ที่ตรงไหนก็ได้


3.เมื่อเอาเมาส์คลิกที่รูปภาพ รูปไดรูปหนึ่ง รูปนั้นก็ทำการโชว์ขึ้นมา

4.จะมีปุ่ม next อยู่ทางขวาเมื่อเอาเมาส์ไปชี้

5.จะมีปุ่ม prev อยู่ทางด้านซ้าย


การทำเป็นตัว CD ทำได้ดังดังนี้

ทำการเลือกค่าการแปลงไฟล์ที่ทำการสร้าง เป็นรูปแบบต่าง ๆ ในส่วนของ Output Option โดยถ้าต้องการให้เป็นไฟล์ Flash ก็ให้เลือกเป็น "Create Flash File Only" เป็นต้น

1. ในส่วนของ Output Settings เป็นส่วนที่ใช้สำหรับต้องส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และตั้งชื่อไฟล์ต่าง ๆ ที่จะแปลงออกไป

2. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม เพื่อทำการแปลงข้อมูลที่สร้างขึ้น

3. โปรแกรมจะทำการแปลงไฟล์ที่สร้างขึ้น

4. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Publish ขึ้นมาและถ้าต้องการดูตัวอย่างงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม

5. ก็จะแสดงตัวอย่างประมาณดังรูป


การใส่เสียงในโปรแกรม

การใส่เสียงในโปรแกรม Flash Slideshow Maker Professional นั้นมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ครับ

1. ไปที่ เมนูบาร์ เลือกที่ Music >> Add Music file

2. หลังจากที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนด้านต้นแล้ว ก็จะมีหน้าต่าง Open เกิดขึ้นเพื่อให้เราได้เลือก file เสียงที่ได้เตรียมเอาไว้นำมาใส่ในชิ้นงาน โดยในที่นี้ file เสียงของผมได้เก็บไว้ใน D:/FlashSlideshow/VDS หลังจากที่ได้เลือก file เสียงเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ให้กด Open


File เสียงที่ตัวโปรแกรมรองรับได้แก่

File นามสกุล *.MP3 , *.WMA , *.WAV

3. หลังจากที่เราได้ทำการในส่วนของการใส่เสียงเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะเข้ามาสู่ในส่วนทำงานของ Theme ซึ่งในทำงานในส่วนนี้จะมีองประกอบที่เกี่ยวกับเสียงหลักๆ ดังนี้คือ

3.1 Add เป็นคำสั่งที่มีไว้สำหรับเพิ่ม File เสียง

3.2 Del เป็นคำสั่งที่มีไว้สำหรับ ลบ File เสียง

3.3 Get Music From เป็นคำสั่งค้นหา File เสียง จาก CD-Rom

3.4 Play เป็นคำสั่งสำหรับเล่น File เสียงที่เราได้เลือกไว้ครับ

หลังจากที่เราได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ มาแล้ว ที่นี้เราก็จะได้ Sildeshow ที่มีเสียงเพลงเพื่อเพิ่มความเท่ให้กับชิ้นงานของเราแล้วครับ ลองทำกันดูครับรับรองว่าชิ้นงานออกมาพอมีเสียงเพลงแล้วดูดีขึ้นจมเลยครับ

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดีย มีใช้มานานแล้ว ส่วนมากจะใช้เพื่อการเรียนการสอน และการนำเสนอเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในช่วงแรกนั้นเป็นเพียงการได้เห็นและได้ยิน อุปกรณ์ที่ใช้อาจเป็นเครื่องเล่นเทปซึ่งต่อพ่วงหรือเล่นร่วมกับเครื่องฉายฟิล์มสคริปต์ เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น ต่อมามัลติมีเดียได้มีการนำมาใช้กับคนกลุ่มใหญ่ขึ้น มีวิธีการและรูปแบบการนำเสนอที่ซับซ้อนขึ้น อาจต้องใช้เครื่องเล่นหลายเครื่อง ซึ่งทั้งหมดควบคุมสัญญาณด้วยระบบคอมพิวเตอร์การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการ นักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จะเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั้นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้
เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้

1.สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก
และสามารถทำสำเนาได้ง่าย

2.สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง

3.ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน ( Authoring tool ) ที่ง่ายต่อการ
ใช้งาน ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้

4.สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอ
สถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ

5.สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ

6.เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้
ทุกระดับอายุและความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น

7.สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของ โรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้ การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วย

องค์ประกอบที่เอื้อต่อการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัว ผลักดันให้ครู อาจารย์ และผู้บริหารทุกระดับของการศึกษาไทย หันมาให้ความสนใจกับการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐนอกจากได้มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทุกระดับ รวมทั้งแผนการให้ความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหาร ครูและอาจารย์แล้ว ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการผลิตและการจัดซื้อมัลติมีเดียด้วย
ในส่วนของภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับการผลิตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเช่นกัน หลายโรงเรียนมีขีดความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยตนเองเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในกลุ่มโรงเรียน หรือใช้ในโรงเรียนในโครงการหรือเครือข่ายความร่วมมือกันบางโรงเรียนต้องซื้อจากผู้ผลิตอื่นๆ บางโรงเรียนใช้วิธีผสมผสาน คือ ผลิตเองบ้าง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตตามความต้องการบ้าง บรรยากาศในการผลิตและการจัดหาสื่อมัลติมีเดีย เกิดขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีแล้วแต่ยังพบว่าปริมาณและคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียที่เราผลิตขึ้นใช้เองนั้น มิได้สูงขึ้นตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น โดยสรุปแล้วน่าจะมีสาเหตุเกี่ยวข้องดังนี้

1. ด้านการผลิต รูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI จะมี 3 รูปแบบคือ โรงเรียนผลิตเองทั้งหมด โรงเรียนร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้ผลิตทำเองทั้งหมด ทั้ง 3 รูปแบบนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในประเทศอื่น ๆ ตรงที่ผลิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมากกว่ากัน อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่โรงเรียนผลิตเองก็มีความเป็นไปได้น้อยเพราะการลงทุนสูงและไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะการลงทุนด้านอุปกรณ์การผลิตบุคลากรหรือทีมงานผลิต อาจารย์ผู้เป็นเจ้าของเนื้อหาวิชา รวมทั้งลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง การบริหารจัดการก็เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง การผลิตในลักษณะนี้อาจคุ้มค่าหากเป็นการร่วมมือกันผลิตในกลุ่มโรงเรียน ในเขตการศึกษา หรือโรงเรียนในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน มีองค์กรหรือผู้รับผิดชอบชัดเจน มีแผนงานและนโยบายที่ต่อเนื่อง
รูปแบบที่สอง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและบริษัทผู้ผลิต เป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ในการออกแบบ และการเขียน Storyboard ให้แก่ครู อาจารย์ ซึ่งเป็นเจ้าของเนื้อหา เมื่อได้ Storyboard แล้วบริษัทผู้ผลิตจะดำเนินการผลิต ปรับปรุงและเพิ่มเติมบางส่วน ส่วนลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ใดก็แล้วแต่การตกลง รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ เช่น โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเขียน Storyboard ทั้งหมด แล้วจ้างบริษัทเขียนโปรแกรม หรือบริษัทอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจากโรงเรียนกำหนดเนื้อหา กิจกรรม ขอบข่ายเทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ รูปแบบการร่วมมือลักษณะนี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้งสองฝ่ายในด้านการขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน การร่วมมือกันผลิตดังกล่าวนี้อาจมีข้อเสียเปรียบอยู่บ้างในแง่ของการบริหารจัดการ การประสานงาน และความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์
รูปแบบที่สาม คือ บริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิตเองทั้งหมด มีเป้าหมายสองประการ คือ ผลิตตามการว่าจ้าง หรือผลิตเพื่อจำหน่าย การผลิตตามการว่าจ้างนั้นก็เป็นที่ต้องการของบริษัท เพราะได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างเป็นเงินก้อนไม่ต้องรับผิดชอบในการขายแต่ประการใด ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งดูแลการศึกษาในระบบใหญ่สามารถนำบทเรียนไปใช้อย่างคุ้มค่า แต่ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตก็มีเช่นกัน ปัญหาใหญ่อยู่ที่การกำหนดรายละเอียดของการออกแบบโปรแกรม หากไม่ทำความตกลงให้ชัดเจนถึงรูปแบบเทคนิควิธีการ และอื่น ๆ แล้ว การตรวจรับงานโดยกรรมการคนละชุดกันอาจไม่เกณฑ์อ้างอิงที่ช่วยกำหนดกรอบของการรับงานได้ สำหรับรูปแบบการผลิตเพื่อจำหน่ายเอง ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหามาก ปัญหาประการแรก คือ การออกแบบบทเรียนที่มีคุณภาพดี บริษัทต้องลงทุนสูงมาก ความคุ้มค่าอยู่ที่จำนวนสำเนาที่ได้จำหน่ายออกไป ปัญหาประการที่สอง คือ ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ไม่เต็มที่ หลายบริษัทต้องเลิกล้มแนวคิดในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ไม่เต็มที่ หลายบริษัทต้องเลิกล้มแนวคิดในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยเหตุที่ไม่สามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้ง ปัญหาประการที่สาม คือ ความเสียเปรียบด้านภาษา สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทยเป็นภาษาไทย มีกรอบจำหน่ายที่แคบอยู่ภายในประเทศไทยเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาขายด้วย เมื่อยอดขายต่ำก็จำเป็นต้องตั้งราคาขายสูงเพื่อให้คุ้มทุน ในทางกลับกัน สื่อมัลติมีเดียที่ใช้ภาษาเป็นภาษาหลักมีข้อได้เปรียบ คือ มีวงจำหน่ายที่กว้างขวาง หลายบริษัทจึงหันไปร่วมธุรกิจกับต่างประเทศโดยรับเขียนโปรแกรมให้เบ็ดเสร็จตามรูปแบบการผลิตที่กล่าวไว้แล้ว ผลที่ตามมาก็คือโรงเรียนต่าง ๆ ยังคงขาดแคลนสื่อมัลติมีเดียที่เป็นภาษาไทยที่มีคุณภาพ สื่อมัลติมีเดียที่สอนภาษาอังกฤษแม้มีให้เลือกมากขึ้น แต่ก็ยังมีราคาสูงเกินที่จะจัดหาให้เพียงพอกับการใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลได้

2. ด้านการจัดหา รูปแบบการจัดหาสื่อมัลติมิเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI คล้ายกับการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ใช้ในห้องสมุดหรือชั้นเรียน ในการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีอะไรซับซ้อน ความสำคัญจะอยู่ที่สื่อที่มีให้เลือกและวิธีการเลือก หากมีจำนวนให้เลือกมากพอ และผู้เลือกได้มีโอกาสเปรียบเทียบคุณภาพกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้เป็นมาตรฐาน โอกาสที่จะได้สื่อที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมก็มีมาก
การจัดหาสื่อมัลติมีเดียจะมีรูปแบบคล้ายกัน หากมีสื่อให้เลือกมากพอ มีแบบประเมินที่มีคุณภาพ และมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพในทุกด้านก็น่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ ยังมีปัญหาการปฏิบัติเกือบทุกด้าน ประการแรกคือ สื่อมัลติมีเดียยังมีไม่มากพอที่จะให้เลือกใช้ แม้ในระยะหลังหน่วยงานต่าง ๆ จะมีนโยบายสนับสนุนการผลิตหรือการจัดหาบทเรียนมาตลอด แต่การจะสร้างให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านปริมาณและคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แบบประเมินยังมีไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก อีกทั้งยังมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและหัวข้อการประเมิน ขาดแคลนมากที่สุดน่าจะเป็นนักประเมินที่มีความรู้ความเข้าใจการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย ผู้ที่จะเป็นผู้ประเมินนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน รู้เทคนิคการออกแบบ รู้รูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย รู้ข้อจำกัดและข้อได้เปรียบ สามารถประเมินคุณภาพกับราคาเปรียบเทียบกันได้ และแน่นอนว่าผู้ประเมินจะต้องมีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบการใช้งานวิเคาระห์ความยากง่ายในการใช้งานของสื่อมัลติมีเดียที่ตนประเมินอยู่ได้ ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ คงใช้แนวคิดคล้ายกับการแก้ปัญหาการผลิตสื่อมัลติมีเดีย กล่าวคือ ควรมีการรวมตัวหรือจัดตั้งหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการประเมินสื่อมัลติมีเดียจนกว่าหน่วยงานย่อยหรือโรงเรียน จะมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
ด้านการประเมินสื่อมัลติมีเดียเอง สำหรับหน่วยงานของรัฐ ควรเริ่มด้วยการประเมินโดยหน่วยงานส่วนกลางแล้วกระจายการรับผิดชอบไปสู่หน่วยงานในระดับจังหวัด และกลุ่มโรงเรียนต่อไป อย่างไรก็ตาม ลักษณะของการกระจายความรับผิดชอบในการจัดหาสื่อมัลติมีเดียนี้คงต้องมีการปรับระบบควบคู่กับการวางรูปแบบการจัดสรรงบประมาณด้วยเช่นกัน